ไม่มีหมวดหมู่

ขอเชิญคณาจารย์ บุคลากรมหาวิทยาลัยศิลปากร เข้าร่วมโครงการการประเมินผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน (SROI) ของโครงการวิจัย เพื่อขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยสู่ความสำเร็จ (Roadmap to Success)

❇️❇️❇️สำนักงานบริหารการวิจัย นวัตกรรมและการสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ขอเชิญคณาจารย์ บุคลากรมหาวิทยาลัยศิลปากร เข้าร่วมโครงการการประเมินผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน (SROI) ของโครงการวิจัย เพื่อขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยสู่ความสำเร็จ (Roadmap to Success)

🔅วิทยากร นายเศรษฐภูมิ บัวทอง และคณะวิทยากรกระบวนการ

นางสาวนูรีมะห์ ลูดิง นางสาวอุมัยย๊ะ ลูดิง นายเสกสรรค์ ว่องวัฒนาศิลป์ นางสาวอาซีม๊ะ ดามาลอ

วันเสาร์ที่ 25 – วันอาทิตย์ที่ 26 พฤษภาคม 2567 เวลา 8.30 -16.30 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 1 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ กรุงเทพฯ

เงื่อนไขโครงการวิจัยที่จะสมัครเข้ารับคัดเลือกร่วมโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ
ต้องเป็นโครงการวิจัยที่หัวหน้าโครงการเป็นบุคลากรของมหาวิทยาลัยศิลปากร

  1. เป็นโครงการวิจัยที่ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว และคาดว่ามีผลกระทบทางสังคม
    และเศรษฐกิจ
  2. เป็นโครงการวิจัยที่ได้รับงบประมาณ 1,000,000 บาท ขึ้นไป
  3. หากโครงการวิจัยมีนักวิจัยที่เคยผ่านการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การประเมิน
    ผลกระทบทางสังคม (SIA) และการประเมินผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน (SROI) มาก่อนจะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ
  4. นักวิจัยของโครงการวิจัยที่สมัครเข้าร่วมการประชุม ต้องเข้าร่วมโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการฯ แบบ On site ที่ ห้องประชุมชั้น 1 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ ได้ทั้ง 2 วัน และนำเสนอผลการประเมิน SIA และ SROI ผ่านระบบ Online Zoom Meeting ในวันที่สำนักงานบริหารการวิจัยฯ กำหนด
    รับสมัครตั้งแต่บัดนี้ จนถึงวันพุธที่ 3 เมษายน 2567 เวลา 16.00 น.
    หมายเหตุ
    นักวิจัยของโครงการต้องเข้าร่วมฟังการชี้แจงการกรอกใบงานตามแบบฟอร์ม
    ที่กำหนดผ่านระบบ Online Zoom Meeting ในวันเสาร์ที่ 6 เมษายน 2567
    เวลา 8:30-12:00 น. เพื่อคัดเลือกนักวิจัยเข้าร่วมโครงการฯ
    สมัครได้ที่ https://forms.gle/UnnaFxt3SM93Z6Fu9
    📞✅สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานบริหารการวิจัยฯ เบอร์ภายใน 216005 หรือเบอร์ภายนอก 0616284101

สำนักงานบริหารการวิจัย นวัตกรรมและการสร้างสรรค์ ได้จัดโครงการอบรม เรื่อง “วิธีการตรวจสอบและเลือกวารสารเพื่อการตีพิมพ์ในระดับนานาชาติ” ในวันที่ 28 มิถุนายน 2566 เวลา 08.30 – 12.00 น. ผ่านระบบออนไลน์ โปรแกรม Zoom Meeting

⭐️ สำนักงานบริหารการวิจัย นวัตกรรมและการสร้างสรรค์ ได้จัดโครงการอบรม เรื่อง “วิธีการตรวจสอบและเลือกวารสารเพื่อการตีพิมพ์ในระดับนานาชาติ” ในวันที่ 28 มิถุนายน 2566 เวลา 08.30 – 12.00 น. ผ่านระบบออนไลน์ โปรแกรม Zoom Meeting และ ห้องประชุม ชั้น 2 สำนักงานบริหารการวิจัย นวัตกรรมและการสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 📖✨

 

☀️ โดย ศาสตราจารย์ ดร.นันทนิตย์ วานิชาชีวะ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยศิลปากร กล่าวเปิดโครงการอบรม และได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ ดร.นงนุช เหมืองสิน จากภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาเป็นวิทยากรในการอบรมครั้งนี้ 

👩🏻‍💻👨🏻‍💻โดยมีผู้เข้าร่วมอบรมจากหลากหลายสถาบันการศึกษา ทั้งคณาจารย์ นักวิจัย และนักศึกษา
จำนวน 103 คน

ขอเชิญส่งบทความเพื่อรับการพิจารณาลงตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการ บัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต

ประชาสัมพันธ์ บัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิตได้จัดทำวารสารวิชาการ เชิญผู้ที่สนใจ ส่งบทความวิชาการ บทความวิจัย เพื่อพิจารณาลงตีพิมพ์ ได้ที่ลิงค์นี้

 

http://www.graduate.dusit.ac.th/journal/index.php/sdujournal

ขอเชิญเข้าร่วมรับฟังการชี้แจงกรอบการวิจัยและนวัตกรรมของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ประจำปีงบประมาณ 2567 และการแถลงผลสำเร็จจากผลงานวิจัยและนวัตกรรม NRCT Open House 2023 ระหว่างวันที่ 19-27 มิถุนายน 2566 จัดโดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

🔬สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
🔊ขอเชิญเข้าร่วมรับฟังการชี้แจงกรอบการวิจัยและนวัตกรรมของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ประจำปีงบประมาณ 2567 และการแถลงผลสำเร็จจากผลงานวิจัยและนวัตกรรม NRCT Open House 2023 ระหว่างวันที่ 19-27 มิถุนายน 2566 จัดโดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ใน 9 ด้าน ดังนี้
📌1) ด้านการพัฒนาศูนย์กลางกำลังคนระดับสูงและศูนย์กลางการเรียนรู้ระดับอาเซียน🏅(19 มิถุนายน 2566)
📌2) ด้านสังคมและความมั่นคง 🇹🇭(20 มิถุนายน 2566)
📌3) ด้านการพัฒนาเส้นทางอาชีพนักวิจัยและนวัตกรรมและการวิจัยเพื่อฐานทางวิชาการ 📑(21 มิถุนายน 2566)
📌4) ด้านการรองรับสังคมสูงวัย 🧑🏻‍🦳👨🏻‍🦳(22 มิถุนายน 2566)
📌5) ด้านสัตว์เศรษฐกิจ 🦀(23 มิถุนายน 2566)
📌6) ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 🌱(24 มิถุนายน 2566)
📌7) ด้านการพัฒนาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม 🏭(25 มิถุนายน 2566)
📌8) ด้านเศรษฐกิจและการเกษตร 🥭(26 มิถุนายน 2566)
📌9) ด้านการจัดการความรู้การวิจัยและถ่ายทอดเพื่อการใช้ประโยชน์ (KM) 📝(27 มิถุนายน 2566)
ทั้งนี้ สามารถลงทะเบียนเข้าร่วมงานผ่านเว็บไซต์ 👩🏼‍💻 : https://nrctopenhouse.jupinnothai.net/
ได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
📌และรับชมถ่ายทอดผ่านช่องทาง
Facebook LIVE 🎥: สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ

ศาสตราจารย์ ดร.ธนะเศรษฐ์ ง้าวหิรัญพัฒน์ ผู้รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร ร่วมนำเสนอบทเรียนความท้าทายในการดำเนินงานด้านความยั่งยืนของมหาวิทยาลัยศิลปากร ผ่านระบบออนไลน์ zoom meeting

วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 09.00 – 12.00 น.
ศาสตราจารย์ ดร.ธนะเศรษฐ์ ง้าวหิรัญพัฒน์ ผู้รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร
ร่วมนำเสนอบทเรียนความท้าทายในการดำเนินงานด้านความยั่งยืนของมหาวิทยาลัยศิลปากร ผ่านระบบออนไลน์ zoom meeting
เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ร่วมกับเครือข่าย SDG Move 9 มหาวิทยาลัย
ในการประชุมโครงการสนับสนุนและส่งเสริมศักยภาพสถาบันอุดมศึกษาเพื่อขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG Move)
โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.นันทนิตย์ วานิชาชีวะ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย และคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยศิลปากร เข้าร่วมประชุมด้วย

วันที่ 16 มิถุนายน 2565 ศาสตราจารย์ ดร.นันทนิตย์ วานิชาชีวะ เข้าร่วม พิธีแถลงข่าวและมอบนโยบาย โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG)

วันที่ 16 มิถุนายน 2565 เวลา 11:00 – 13:00 น.

ศาสตราจารย์ ดร.นันทนิตย์ วานิชาชีวะ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้รับมอบหมายจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วันชัย สุทธะนันท์ ผู้รักษาการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
เข้าร่วม พิธีแถลงข่าวและมอบนโยบาย โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG) จาก ศาสตราจารย์(พิเศษ)ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์

รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัย และ นวัตกรรม
ผ่านระบบออนไลน์ Zoom meeting ร่วมกับผู้บริหารมหาวิทยาลัย และหน่วยงานอว. ทั่วประเทศ

อังคารที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2565 รองศาสตราจารย์ ดร.รัฐพล อ้นแฉ่ง เข้าร่วมการประชุมหารือแนวทางการขับเคลื่อนโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของประเทศ (National Quality Infrastructure : NQI) เพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ : ภาคกลางตอนล่าง

วันอังคารที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2565 เวลา 13.30 -16.00 น.
รองศาสตราจารย์ ดร.รัฐพล อ้นแฉ่ง ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยศิลปากร
เข้าร่วมการประชุมหารือแนวทางการขับเคลื่อนโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของประเทศ (National Quality Infrastructure : NQI) เพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ : ภาคกลางตอนล่าง
โดย กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ออนไลน์ โปรแกรม Zoom Meeting
เพื่อรับทราบแนวทางพัฒนาหน่วยตรวจสอบและรับรองของสถาบันอุดมศึกษาในพื้นที่ ให้สามารถตรวจสอบวัตถุดิบ ผลิตภัณฑ และนวัตกรรมเฉพาะทางในท้องถิ่นให้ได้รับการรับรองตามมาตรฐานสากล รวมถึงยกระดับและเพิ่มมูลค่า วัตถุดิบ ผลิตภัณฑ และนวัตกรรมที่มีเอกลักษณ์และเป็นอัตลักษณ์ มุ่งเน้นการส่งเสริมให้เกิดการเติมเต็มในโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของประเทศ อย่างครบวงจร พัฒนาหน่วยตรวจสอบและรับรอง (CAB) ในพื้นที่อย่างเป็นระบบ และเชื่อมโยงเครือข่ายความรู้และบุคลากรด้าน ววน.

พุธที่ 6 กรกฎาคม 2565 รองศาสตราจารย์ ดร.รัฐพล อ้นแฉ่ง เข้าร่วมประชุมชี้แจงการเก็บข้อมูล Thailand Community Big Data (TCD) โครงการ U2T ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564

วันพุธที่ 6 กรกฎาคม 2565 เวลา 10.00 – 12.00 น.
รองศาสตราจารย์ ดร.รัฐพล อ้นแฉ่ง ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยศิลปากร
เข้าร่วมประชุมชี้แจงการเก็บข้อมูล Thailand Community Big Data (TCD) โครงการ U2T ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
โดย สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.)
ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ออนไลน์ โปรแกรม Zoom Meeting
เพื่อรับทราบ วัตถุประสงค์ วิธีการเก็บข้อมูล และใช้ประโยชน์ฐานข้อมูล TCD ในการวางแผนและพัฒนาพื้นที่ทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม